› สนง.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
› หน่วยงานระดับกรม
› รัฐวิสาหกิจในสังกัด
› จังหวัด
หน่วยงานราชการต่าง ๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประวัติศูนย์ดำรงธรรม

"...ที่จะรู้ได้ว่า ที่ใดเรียบร้อยหรือไม่เรียบร้อย 
ไม่มีอะไรดียิ่งกว่าฟังเสียงราษฎร..."


1. ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งศูนย์บริการข่าวสารมหาดไทยเพื่อรับฟัง
ความคิดเห็นของประชาชน ให้บริการข้อมูล และรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ เกี่ยวกับงานของกระทรวงมหาดไทย 
ทางโทรศัพท์หมายเลข 1567 และทางไปรษณีย์ ตู้ ป.ณ.101 ปณฝ.มหาดไทย กรุงเทพฯ10206 ต่อมาบทบาทของศูนย์บริการข่าวสารของกระทรวงมหาดไทยได้เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจเกี่ยวกับ
การแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชน จึงได้มีการปรับปรุงศูนย์บริการข่าวสารของมหาดไทย
ให้มีเอกภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้ชื่อว่า ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2537
ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา การดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทยมีลักษณะการทำงาน
แบบปิด บริหารเป็นการภายใน ทำงานในเชิงรับมากกว่าเชิงรุก นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย จึงมีนโยบายที่จะปรับบทบาทการทำงานของศูนย์ดำรงธรรมให้เป็นไปในลักษณะเชิงรุก
มากกว่าเชิงรับ โดยพิจารณาเห็นว่า การดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมจะเป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะช่วยให้นโยบาย
บ้านเมืองน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้มอบนโยบายและแนวคิดในการปรับ
บทบาทของศูนย์ดำรงธรรม ดังนี้
1. ให้ศูนย์ดำรงธรรมมีบทบาทในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างจริงจัง โดยมีลักษณะการทำงาน
เชิงรุกมากกว่าเชิงรับ
2. ให้ประชาชนรับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมอย่างแพร่หลายและสามารถแจ้งขอรับ
ความช่วยเหลือในเรื่องความเดือดร้อนต่าง ๆ ได้ทุกเรื่องตลอดเวลา 3. ให้องค์กรภาคเอกชนมีส่วนร่วมและ
สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม
4. ให้ศูนย์ดำรงธรรมมีภารกิจเสริมในด้านส่งเสริมเชิดชูคนดีและให้ความรู้ทางศีลธรรม จริยธรรมแก่ประชาชน
ทั่วไป เพื่อให้ “ศูนย์ดำรงธรรม” มีบทบาทในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ประชาชนอย่างจริงจัง บังเกิดผลสำเร็จ
เป็นรูปธรรม ตอบสนองนโยบายดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจึงได้จัดตั้งและปรับปรุงศูนย์ดำรงธรรมที่มีอยู่เดิม
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกำหนดสถานที่ตั้งให้ชัดเจนเหมาะสม มีเจ้าหน้าที่และเครื่องมือสื่อสารอย่าง
เพียงพอ มีเครือข่ายเชื่อมโยงถึงกันในทุกระดับสามารถติดต่อประสานงานได้อย่างรวดเร็ว และให้มีพิธีเปิด
ศูนย์ดำรงธรรมในมิติใหม่ อย่างเป็น ทางการพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2545 ซึ่งตรงกับ 
“วันดำรงราชานุภาพ” ศูนย์ดำรงธรรม มาจากคำว่า “ดำรง” และ “ธรรม”
ดำรง หมายความว่า ทรงไว้ ชูไว้ ทำให้คงอยู่
ธรรม หมายความว่า ความยุติธรรม ความถูกต้อง
ดังนั้น ศูนย์ดำรงธรรม จึงหมายถึง แหล่งที่ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม นอกจากนี้คำว่า “ดำรง” ยังสอดคล้อง
กับพระนามขององค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ด้วย จึงนับว่า ศูนย์ดำรงธรรม เป็นคำที่มีความหมายและเป็นมงคลยิ่ง

2. ขอบเขตภารกิจของศูนย์ดำรงธรรม
ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทยที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
1. รับเรื่องราวความเดือดร้อนของประชาชนในทุกเรื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง
2. วิเคราะห์ ประเมินเรื่องราว เหตุการณ์ ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือ
ในเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์
3. ประสานการปฏิบัติและส่งต่อเรื่องราวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ
4. รายงานผลการปฏิบัติตามสายการบังคับบัญชาทันทีที่ได้รับเรื่องราว ระหว่างการปฏิบัติและภายหลังภารกิจ
เสร็จสิ้นแล้ว
5. ประชาสัมพันธ์ผลงานให้ประชาชนทั่วไปทราบอย่างแพร่หลาย
6. ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมเชิดชูคนดีและให้ความรู้ทางศีลธรรม จริยธรรมแก่ประชาชนทั่วไป
7. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

3. การดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย
การดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย มีการจัดตั้งครอบคลุมทั้งประเทศ
เพื่ออำนวยความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ส่วนกลาง แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย มีที่ตั้งบริเวณชั้น 1 อาคารศาลาว่าการ
กระทรวงมหาดไทยและศูนย์ดำรงธรรมหรือศูนย์ให้บริการประชาชน ในลักษณะเดียวกับศูนย์ดำรงธรรมกระทรวง
ของหน่วยงานระดับกรมและรัฐวิสาหกิจมีที่ตั้งอยู่ในกรมและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งส่วนภูมิภาค 
แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ณ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ/กิ่งอำเภอ 
ณ ที่ว่าการอำเภอและกิ่งอำเภอทุกแห่ง

4. แนวคิดในการดำเนินงาน 
การทำงานของศูนย์ดำรงธรรม จะเน้นรูปแบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ ไม่เน้นเอกสาร เน้นการมีส่วนร่วม
ระหว่างภาคราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน มูลนิธิ ชมรม สมาคม สถาบัน อาสาสมัคร
และองค์กรภาคเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นแกนหลักในการประสานความร่วมมือของทุกองค์กร 

5. การจัดองค์กรของศูนย์ดำรงธรรม 
กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า ศูนย์ดำรงธรรมเป็นช่องทางหนึ่งที่จะขับเคลื่อนนโยบายในการ
บริหารราชการให้เป็นรูปธรรม ดังนั้น เพื่อให้ศูนย์ดำรงธรรมสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถ
แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างแท้จริง โดยการเพิ่มช่องทางการร้องทุกข์ที่มีการบริหาร
จัดการที่มีประสิทธิภาพ กระทรวงมหาดไทยจึงได้จัดวางโครงการศูนย์ดำรงธรรม รวม 2 ระดับ ประกอกด้วย 
ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นหน่วยงานเทียบเท่าระดับกองภายใน
สำนักงานปลัดกระทรวง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ตลอด 24 ชั่วโมง วิเคราะห์
ติดตาม ประสาน และประเมินผลการทำงาน ส่งเสริมและสงเคราะห์พลเมืองดี รวมทั้งการปฏิบัติการในพื้นที่
กรณีมีเรื่องสำคัญเร่งด่วน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว โดยมีการจัดโครงสร้าง 
การแบ่งส่วนงานภายในเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย 
5.1 ส่วนวิเคราะห์รับเรื่อง มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ตลอด 24 ชั่วโมง ลงทะเบียนรับเรื่อง 
ตอบปัญหาข้อซักถาม (กรณีที่ตอบได้) ประสานการรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหากับศูนย์ดำรงธรรม
ในส่วนภูมิภาค สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างภาคราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน
ประสาน การประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานติดตาม ประเมินผลและจัดทำรายงานประจำปีของศูนย์ดำรงธรรมฯ 
โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ จากประชาชน ตลอดทั้งวัน
(ไม่มีช่วงพักเที่ยง) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แล้วสรุปเรื่องแยกตามกลุ่มเรื่อง และประเภท 
วิเคราะห์และประเมินเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ จัดลำดับความสำคัญ เร่งด่วน แยกเรื่องส่งให้ส่วนปฏิบัติการในพื้นที่ 
หรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
5.2 ส่วนเร่งรัดติดตามและประสานงาน มีหน้าที่เร่งรัด ติดตามผลการดำเนินงานเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์/
ขอความช่วยเหลือ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในและนอกสังกัดกระทรวงมหาดไทยเสนอรายงานผลการ
ดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ผู้บังคับบัญชาทราบและพิจารณาสั่งการ แจ้งผลการดำเนินงาน
ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ผู้ร้องเรียน/ร้องทุกข์ทราบ ตลอดจนจัดทำรายงานผลการติดตามเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
ประจำเดือน 
5.3 ส่วนส่งเสริมและสงเคราะห์พลเมืองดี มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องกองทุนส่งเสริมและสงเคราะห์
พลเมืองดี วิเคราะห์และตรวจสอบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดูแลพลเมืองดีที่ได้รับความเดือดร้อน 
ประกาศเกียรติคุณหรือให้รางวัลพลเมืองดีประจำปี จัดทำทะเบียนพลเมืองดี และติดตามประเมินผลการ
ดำเนินงานของกองทุนทั้งในส่วนกลางและจังหวัด 
5.4 ส่วนปฏิบัติการในพื้นที่ มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือเรื่องสำคัญเร่งด่วน ทั้งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ 
และการสงเคราะห์พลเมืองดีทันทีที่ได้รับแจ้ง โดยลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคประสาน 
งานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมปฏิบัติ ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย บริหารงานในรูปของคณะกรรมการ
เรียกว่า คณะกรรมการบริหารศูนย์ดำรงธรรม ประกอบด้วย 
1. ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน 
2. ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธาน 
3. รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ 
4. หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ 
5. รองอธิบดีกรมการปกครอง กรรมการ 
6. ผู้อำนวยการสำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สป. กรรมการ 
7. ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย กรรมการและ เลขานุการ 
ให้คณะกรรมการบริหารศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่ 
1. กำหนดกรอบแนวทางการทำงานของศูนย์ดำรงธรรม 
2. ช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์ดำรงธรรม 
3. ดำเนินงานอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 
ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด แบ่งงานออกเป็น 5 ส่วน คือ 
1.ส่วนรับเรื่อง มอบหมายให้กลุ่มงานปกครองจังหวัด รับผิดชอบ ทำหน้าที่ รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ 
ตลอด 24 ชั่วโมง ลงทะเบียนรับเรื่อง ตอบปัญหาข้อซักถาม (กรณีที่ตอบได้) แยกเรื่องและส่งเรื่องร้องเรียน 
ร้องทุกข์ และข่าวพลเมืองดี 
ให้ส่วนปฏิบัติการในพื้นที่ (หน่วยเคลื่อนที่เร็ว) หรือส่วนวิเคราะห์ ติดตามและประสานงานหรือส่วนส่งเสริมและ
สงเคราะห์พลเมืองดี สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างภาคราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
ภาคเอกชน จัดทำทะเบียนอาสาสมัครผู้แจ้งข่าว จัดทำสถิติ รายงานผลการดำเนินการให้กระทรวงทราบทุกเดือน 
2. ส่วนวิเคราะห์ ติดตามและประสานงาน มอบหมายให้สำนักงานจังหวัด รับผิดชอบ ทำหน้าที่วิเคราะห์ 
ติดตาม ประสานงาน และประเมินเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ จัดลำดับความสำคัญ เร่งด่วน และประสานแจ้ง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาหาแนวทางแก้ไข รวมทั้งเร่งรัด ติดตามผลการ
ดำเนินงานและแจ้งผลการดำเนินการให้ผู้ร้องทราบ 
3. ส่วนส่งเสริมและสงเคราะห์พลเมืองดี มอบหมายให้กลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด 
รับผิดชอบ ทำหน้าที่ เรื่องกองทุนส่งเสริมและสงเคราะห์พลเมืองดี จัดหาทุน รับผิดชอบการใช้จ่ายเงินกองทุน 
วิเคราะห์และตรวจสอบเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ดูแลพลเมืองดีที่ได้รับความเดือดร้อน ประกาศเกียรติคุณหรือ
ให้รางวัลพลเมืองดีประจำปี จัดทำทะเบียนพลเมืองดีและติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริม
และสงเคราะห์พลเมืองดีจังหวัด 
4. ส่วนปฏิบัติการในพื้นที่ หรือหน่วยเคลื่อนที่เร็ว มอบหมายให้นายอำเภอเมือง รับผิดชอบ ทำหน้าที่
ให้ความช่วยเหลือเรื่องสำคัญ เร่งด่วน ทั้งเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ และการสงเคราะห์พลเมืองดี ทันที่ที่ได้รับแจ้ง 
โดยการลงไปปฏิบัติในพื้นที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมปฏิบัติ 
5. ส่วนประชาสัมพันธ์ มอบหมายให้ประชาสัมพันธ์จังหวัด รับผิดชอบทำหน้าที่จัดทำแผนและบริหาร
งานประชาสัมพันธ์ จัดรายการวิทยุ ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของศูนย์ สถานที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัด
ทุกจังหวัด ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด บริหารงานในรูปของคณะกรรมการ เรียกว่า "คณะกรรมการ
บริหารศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด" ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหาร จำนวนไม่เกิน 15 คน 
1. ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน 
2. รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรองประธาน 
3. ปลัดจังหวัด กรรมการ 
4. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด กรรมการ 
5. บุคคลที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควร กรรมการ 
6. หัวหน้าสำนักงานจังหวัด กรรมการและเลขานุการ 
ให้คณะกรรมการบริหารศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. กำหนดกรอบแนวทางการทำงานของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด 
2. ช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด 
3. ดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย 
4. ดำเนินงานอื่นใดตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้ปลัดจังหวัดทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรม
จังหวัด มีหน้าที่บริหารและควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติงานของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและมอบหมาย
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการบริหารศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด มีคณะที่ปรึกษาในการ
ดำเนินงาน ประกอบด้วย คณะกรรมการที่ปรึกษา 
1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่
2. สมาชิกวุฒิสภาในพื้นที่ 
3. ผู้นำศาสนา 
4. ผู้นำประชาชน 
5. ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน 
6. บุคคลตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควร (ถ้ามี) 
6. ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ประชาชนสามารถร้องเรียน/ร้องทุกข์ มายังศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย
ได้ 5 ช่องทาง ดังนี้ ช่องทางร้องเรียน/ร้องทุกข์ 5 ช่องทาง 
1) โทรศัพท์สายด่วน1567 
2) ตู้ ปณ.101 ปณฝ. มหาดไทย 
3) มาร้องเรียนด้วยตนเอง 
4) อินเทอร์เน็ต www.mahadthai 
5) อื่นๆเช่น ตู้รับเรื่องร้องเรียนของศูนย์ดำรงธรรม

ศูนย์ดำรงธรรมในปัจจุบัน 
             กระทรวงมหาดไทยได้มีการปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนระบบงานเรื่องราวร้องทุกข์ของกระทรวง
มหาดไทย โดยได้กำหนดให้กองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานกลาง 
รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องราวร้องทุกข์ และเพื่อให้การปฏิบัติราชการของศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย 
มีความสอดคล้องกับแนวทางการปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนระบบงานเรื่องราวร้องทุกข์ของกระทรวงมหาดไทย
ที่มีการปรับปรุงใหม่ จึงมอบอำนาจให้หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย 
ในงานศูนย์ดำรงธรรมแทนรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ฝายบริหาร ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 2/2550 
ลงวันที่ 3 มกราคม 2550

 

 

 

 

 


Inspection And Grivances Bureau
Best Viewed with Microsoft Internet Explorer 5.0 and Chrome or better @ 1024x768 Resolution High Color Text Size Smaller
Contact Tel: 0-2221-1126
Hotline : 50457 Email Address : moi0205.2@hotmail.com